9 อย่างที่ควรมีก่อนเริ่มขายของออนไลน์ ขายยังไงให้มีคนซื้อ

Page365-อยากขายของออนไลน์ ต้องทำยังไงบ้าง

ทุกวันนี้มีผู้คนมากมายสนใจอยากเริ่มทำธุรกิจออนไลน์หรือ ขายของออนไลน์ เพราะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แถมไม่ต้องลงทุนอะไรมากนักแต่แท้จริงแล้วการเปิดร้านขายของออนไลน์หรือทำธุรกิจออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวที่ดี เพราะไม่อย่างนั้นแล้วอาจจะขาดทุน จนต้องล้มเลิกไปก็ได้

วันนี้ พิมเพลินเลยอยากขอนำ 9 อย่างที่ควรมี ก่อนเริ่มเปิดร้านออนไลน์ ให้ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อมาบอกกับคุณผู้อ่านที่กำลังอยากเริ่มต้นขายของออนไลน์ เพื่อให้ได้เตรียมตัวก่อนเริ่มเปิดร้านออนไลน์กัน และอีก 5 กลยุทธ์เพิ่มยอดขายให้กับพ่อค้า - แม่ค้าออนไลน์มือฉมัง ที่ช่วยให้ขายดียิ่งขึ้น ยอดปังกว่าเดิมในบทความนี้ค่ะ


อยากขายของออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

1. ชื่อร้าน

ขายของออนไลน์ ชื่อร้านต้อง อ่านง่าย จำง่าย คุ้นหู ค้นหาเจอ

หลายคนคิดว่าการตั้งชื่อร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง จะตั้งชื่อร้านอะไรก็ได้ตามใจชอบ ยิ่งถ้าแปลกไม่ซ้ำใครยิ่งดี (บางทีถึงกับเปิดดิกชันนารีหากันด้วยซ้ำ) แต่หารู้ไม่ การตั้งชื่อร้านต้องมีเทคนิคนั่นก็คือ ต้องอ่านง่าย จำง่าย คุ้นหู และต้องค้นหาเจอง่าย

  • อ่านง่าย ชื่อที่ออกเสียงยาก ไม่คุ้นหูคนไทย มีผลทำให้ลูกค้าไม่จดจำร้าน หรือบางทีก็ไม่กล้าแนะนำร้านคุณกับคนรู้จัก เพราะกลัวออกเสียงผิด! เท่ากับคุณเสียโอกาสได้ลูกค้าใหม่ไปอีกคน

  • จดจำง่าย คุ้นหู ชื่อร้านที่ดีควรทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เห็นปุ๊บจำปั๊บยิ่งดี ข้อนี้ก็แล้วแต่ความครีเอทของแต่ละคนเลยค่ะว่าจะใช้ไม้ไหน ไม่ว่า ตั้งชื่อร้านให้สัมพันธ์กับสินค้าที่ขาย เช่น ถ้าคุณขายนาฬิกาและตั้งชื่อให้มีคำว่า Time หรือ Watch ลูกค้าก็จะสามารถจดจำและหาร้านของคุณเจอได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือใช้เทคนิคใช้ศัพท์ที่เรียกความสนใจ เช่น ‘คนอะไรเป็นแฟนหมี’ (นั่นดิ..คนอาร๊ายเป็นแฟนหมี อยากรู้ไหมล่ะ)

  • ค้นหาเจอง่าย สมัยนี้ไม่มีใครจะหาอะไรก็ต้องถามอากู๋ Google หรือ Facebook กันทั้งนั้นแหละค่ะ ยิ่งถ้าเราคิดชื่อได้ตรงกับคำศัพท์ที่ลูกค้าใช้ค้นหา (Search) ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้ลูกค้าหาร้านเราเจอง่ายขึ้น

2. สินค้า

เลือกจากสิ่งที่ชอบ เลือกจากสิ่งที่ใช่

  • เลือกจากสิ่งที่ชอบ เลือกจากสิ่งที่คุณชอบ เพราะเวลาขายคุณจะสามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้อย่างชัดเจน นี่ยังไม่นับไปถึงความสุขที่คุณจะได้ทำสิ่งที่รัก สิ่งที่ชอบ จนรู้สึกมีความสุขจนเหมือนไม่ได้ทำงานเลยนะ

  • เลือกจากสิ่งที่ใช่ แต่ถ้าคุณไม่ได้ชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ แค่อยากมีร้านค้าเป็นของตัวเอง คุณอาจจะเริ่มโดยการสำรวจตลาดว่าสินค้าอะไรกำลังเป็นที่ต้องการและน่าจะทำกำไรได้ดี ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่คนส่วนมากหันมาใช้สมาร์ทโฟน การขายแบตสำรองหรือเคสโทรศัพท์มือถือก็เป็นความคิดที่ไม่เลว หรือถ้าไม่รู้ว่าจะขายของออนไลน์อะไรดี สามารถเข้าไปหาไอเดียได้ที่ สินค้าน่าขาย ของคนอยากขายของออนไลน์แต่ไม่รู้จะขายอะไรดี

3. เงินทุน

ต้นทุนการขายของออนไลน์ ไม่ได้มีแค่ค่าสินค้าเพียงอย่างเดียว

เงินที่คุณจะนำมาลงทุนในการเริ่มร้านออนไลน์ไม่ควรจะครอบคลุมแค่ค่าสินค้าที่คุณจะสั่งมาขาย แต่ควรรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คุณอาจต้องเสีย เช่น ค่าจัดส่ง ค่าแพ็กสินค้า ค่าโฆษณา ฯลฯ ดังนั้น คุณควรวางแผนให้ดี ว่าเงินทุนของคุณนี้จะสามารถทำให้คุณดำเนินการได้แบบไม่ต้องไปขอยืมคนอื่นทีหลัง ยิ่งถ้าคุณคิดจะลาออกจากงานประจำมาขายของออนไลน์ด้วยแล้ว คุณยิ่งต้องคิดให้รอบคอบ

4. จุดยืนของร้าน

วางแผนร้านให้ชัดเจน

เมื่อมีสินค้าแล้ว ก็ถึงเวลาคิดว่าสินค้าของคุณเหมาะที่จะขายส่งหรือขายปลีกมากกว่ากัน บางครั้งการเลือกขายสินค้าส่งในราคาถูก เอากำไรน้อย อาจทำให้คุณรวยแบบไม่รู้เรื่องก็ได้ ในขณะที่สินค้าบางอย่าง เช่น สินค้าแฟชั่น ก็เหมาะที่จะขายปลีกแบบเอากำไรสูง

5. ช่องทางขายสินค้า

ขายที่ไหนบ้าง? Facebook, Instagram, LINE OA หรือ Twitter

ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ เราต้องรู้ด้วยค่ะว่าช่องทางการขายสินค้าที่เราจะเปิดร้านออนไลน์และขายสินค้าของเราบนไหน ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีต่อผลต่อความสำเร็จของร้าน เพราะแต่ละช่องทางเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แตกต่างกัน

  • ขายบนเพจ Facebook เป็นช่องทางที่ง่ายที่สุด คนขายนิยมสูงสุด และก็เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเราได้มากที่สุดเช่นกัน เพราะสมัยนี้ใครๆก็เล่น Facebook กันทั้งนั้น ทำให้สินค้าเราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายมาก ยิ่งปัจจุบัน Facebook เปิดให้ลงโฆษณา (Facebook Ads) ที่สามารถตั้งงบที่ใช้ลงโฆษณาและกำหนดกลุ่มเป้าหมายเองด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เปิดเพจขายของบน Facebook ยิ่งฮอตฮิตเข้าไปใหญ่ ทำให้คนหายกลายเป็นเศรษฐีมาแล้วมากมาย

    คุณอาจสนใจบทความนี้ : 11 วิธีโปรโมทเพจ Facebook ยังไงให้ลูกค้ารู้จัก เห็นแล้วต้องกดติดตาม!

  • ขายบน Instagram เป็นอีกช่องทางที่เริ่มนิยมเป็นอันดับถัดมา โดยจะเน้นการขายผ่านรูปภาพ ลงรายละเอียดได้ไม่มากเหมือน Facebook ดังนั้นหากจะขายผ่านช่องทางนี้ คุณต้องมีฝีมือในการถ่ายภาพสินค้าในระดับนึงเลยแหละถึงจะปัง แต่ถ้ายังฝีมือไม่เข้าขั้นก็ฝึกฝนกันได้นะคะ


  • ขายผ่าน LINE และ LINE OA ช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจและควรมี แต่นั่นต้องหลังจากที่คุณมีเพจ Facebook หรือ ร้านบน Instagram แล้วนะคะ เพราะช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ร้านสามารถแชทตรงกับลูกค้าได้เลย ลูกค้าจะรู้สึกเหมือนได้คุยกับคนเป็นๆ มากกว่า ร้านค้าส่วนใหญ่จึงใช้ช่องทางนี้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเก่า เช่น การอัปเดตสินค้าคอลเลคชั่นใหม่ โปรโมชั่นล่าสุด ฯลฯ


  • ขายผ่าน Twitter ช่องทางนี้ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางขายของออนไลน์ที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะสินค้าพรีออเดอร์ ขายของออนไลน์บนTwitter จะไม่เหมือนกับเพจ Facebook ค่ะ เพราะลูกค้าที่อยู่ในแพล็ตฟอร์มนี้ชอบคอนเทนต์ควรสั้นเข้าใจง่าย อาจจะเกริ่นได้นิดหน่อยแต่ไม่ควรยาวเกินไป หรือ คอนเทนต์ประเภทแนะนำสินค้าที่ใช้ดีจนต้องบอกต่อ และถ้าเราขายสินค้าเกี่ยวกับอะไรอยู่ อยากได้กลุ่มเป้าหมายแบบไหน อย่าลืมใช้ # ประกอบด้วยนะคะ เช่น ถ้าเรารับพรีอัลบั้มศิลปินเกาหลี ก็อาจจะใช้แฮชแท็ค #ตลาดนัดบังทัน #ตลาดนัดNCT #พรีบั้ม ฯลฯ

Page365 แนะนำ
เมื่อแม่ค้าออนไลน์มีโซเชียลหลาย ๆ ช่องทางไว้สื่อสารกับลูกค้า ปัญหาหนึ่งที่ตามมานั่นคืออาจทำให้ตอบลูกค้าไม่ทัน เพราะต้องคอยเปิดหลายแอปฯ คุณสามารถสมัครใช้งาน Page365 ที่มีฟีเจอร์รวมแชทจากทุกโซเชียล ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน มาช่วยจัดการตอบลูกค้า และเปิดบิลง่าย ๆ ได้ทั้งบนแอปฯ และบนเว็บฯ

6. แผนการตลาด

จุดขายดึงดูด ส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย

แผนการตลาด เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดชะตาของร้านคุณ เพราะถึงคุณจะมีสินค้าคุณภาพดีราคาถูก แต่ถ้าไม่มีใครรู้จักร้านของคุณก็ไม่มีประโยชน์ คุณจึงควรวางแผนให้ดีว่าจะโปรโมตร้านค้าหรือสินค้าของคุณอย่างไร จะดึงดูดลูกค้าอย่างไร และจะทำให้อย่างไรให้ร้านคุณที่เพิ่งเปิดใหม่เอาชนะร้านอื่นๆ ที่เปิดมาก่อนหน้าคุณได้ การวางแผนการตลาดอาจเริ่มจากขั้นตอนต่อไปนี้

  • วาดภาพเป้าหมายให้ชัดเจน

  • มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น เมื่อเปิดเพจแล้วจะทำให้คนรู้จักอย่างไร

  • วางงบประมาณที่จะใช้เพื่อทำให้ขั้นตอนต่างๆ สำเร็จ

  • วางกำหนดเวลาเพื่อประเมิน ตรวจสอบ และปรับปรุงแผน

7. ช่องทางการชำระเงิน

ยิ่งเยอะยิ่งดี ถ้าขายของแพงรับบัตรเครดิตได้ยิ่งเริ่ด

การชำระเงินควรเป็นเรื่องง่ายสำหรับลูกค้า คุณควรเปิดบัญชีสำหรับร้านของคุณกับธนาคารที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ แทนที่จะเลือกธนาคารที่ไม่เป็นที่นิยมแต่ให้ดอกเบี้ยดี นอกจากนี้ ถ้าคุณวางแผนจะขายสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ คุณก็ควรมีบัญชีที่รองรับการโอนเงินจากต่างประเทศ (และมีแผนสำหรับการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศแบบที่คุณไม่ขาดทุน) บัญชี Paypal นับว่าเป็นทางเลือกที่ดีและสามารถสมัครใช้งานง่าย

8. ความอดทนและมุ่งมั่น

คิดไว้เราต้องทำได้

หลายคนเริ่มธุรกิจด้วยความรู้สึกอยากรวยเร็ว เราหวังให้การลงทุนของเราผลิดอกออกผลเป็นกำไรตั้งแต่วินาทีที่เราเริ่มเปิดร้าน แต่นั่นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นความเพ้อฝัน เพราะเมื่อคุณเริ่มเปิดร้าน เป็นไปได้ว่าคุณจะไม่มีลูกค้าเลยในอาทิตย์แรกๆ (ไม่นับเพื่อน ญาติ และคนรู้จัก) อาจมีลูกค้าหลายคนมาให้ความสนใจสินค้าของคุณแต่ก็จากไป คุณจะเริ่มสงสัยว่าคุณทำอะไรผิด บางครั้งอาจถึงขั้นอยากลดราคาแล้วขายทุกอย่างเพื่อให้คืนทุน อย่าทำแบบนั้น คุณต้องมั่นใจและหมั่นตรวจสอบแผนการตลาดของคุณว่าได้ผลตามคาดหรือไม่ และหัดปรับเปลี่ยน ทำอะไรใหม่ๆ เพื่อเรียกลูกค้า และอย่าท้อแท้

9. เวลา

ยิ่งเร็ว ยิ่งได้เปรียบ

ถ้าคุณเตรียมตัวจะยึดการขายของออนไลน์เป็นอาชีพก็แล้วไป แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ยังต้องทำงานประจำ คุณควรวางแผนบริหารเวลาให้ดี เพราะบางที “ความอยากได้” ของลูกค้าก็มีระยะเวลาจำกัด การที่คุณไม่สามารถโต้ตอบลูกค้าได้ทันเวลา อาจหมายถึงการเสียลูกค้าไป คุณอาจใช้ตัวช่วยอย่างระบบตอบกลับอัตโนมัติของ Page365 ตอบบทสนทนาจากลูกค้าในเวลาที่คุณไม่ว่าง เพื่อเป็นการซื้อเวลาไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าถูกทอดทิ้งก็ได้


ขายของออนไลน์อยู่แล้ว อยากขายดี ยอดพุ่งกระฉูด แบบแม่ค้ามือฉมัง ทำไงดี?

สำหรับพ่อค้า - แม่ค้าที่เปิดร้านค้าออนไลน์มาได้สักพักแล้ว อยากให้ขายได้กว่านี้ ขายดีแซงคู่แข่งขึ้นไปอีก! พิมเพลินก็มี Tip & Trick วิธีขายของออนไลน์ยังไงให้ชายดีขึ้นไปอีกไว้ช่วยกระตุ้นยอดขายให้ปังกว่าเดิมมาฝากเช่นกันค่ะ

1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอสินค้า

การโพสต์ขายแบบเดิม ๆ แพทเทิร์นซ้ำ ๆ จะทำให้ลูกค้าเบื่อได้ค่ะ เราจึงต้องคอยปรับเปลี่ยนรูปแบบในการโปรโมทสินค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดขาย เช่น โพสต์ในรูปแบบของวิดีโอ วิดีโอสอนใช้งาน รีวิวจากผู้ใช้จริง หรือใช้คำโปรยข้อความที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ ฯลฯ พยายามสลับสับเปลี่ยนรูปแบบการโพสต์ขายสินค้าไปเรื่อย ๆ และให้มีการเคลื่อนไหวบนแพล็ตฟอร์มที่เราขายของออนไลน์อยู่สม่ำเสมอค่ะ

2. หยิบคำรีวิวจากลูกค้า มาทำเป็นคอนเทนต์

Feedback จากลูกค้าใครว่าไม่สำคัญ เพราะ Feedback ดี ๆ หรือคำรีวิวสินค้าและการบริการที่ได้จากลูกค้า นำมาโพสต์เป็นคอนเทนต์ลงบนเพจแล้วแท็กขอบคุณ ถ้าลูกค้าของเรามีการแชร์ออกไปในพื้นที่โซเชียลของลูกค้าเอง ตรงนี้จะยิ่งช่วยให้มีโอกาสที่จะได้ลูกค้าใหม่ ๆ มารู้จักและมีการซื้อ - ขายเกิดขึ้นค่ะ อ้อ! รวมถึงเก็บ Feedback ความต้องการ - คำแนะนำของลูกค้าเอาไว้ เพราะความคิดเห็นของลูกค้าเนี่ยแหละค่ะ สามารถเอามาเป็นแนวทางในการพัฒนาการขาย จนไปถึงสินค้าใหม่ ๆ ที่เราจะนำมาจำหน่ายในอนาคตได้ด้วยนะคะ

3. Fear of Missing Out สร้างความรับรู้กับลูกค้าว่าต้องรีบซื้อ

การจะอัดโปรโมชั่นอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะลูกค้าเองก็มีการเปรียบเทียบโปรโมชั่นกับร้านอื่น ๆ เหมือนกัน แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเล่นกับความรู้สึกกับลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรีบซื้อ รีบ CF รีบโอนเงิน เพราะ “มีเวลาจำกัด” หากว่าไม่ซื้อตอนนี้ ก็อาจจะไม่ได้ราคานี้อีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น จัดโปรโมชั่นลดสินค้า 80% ภายใน 1 ชั่วโมงนี้เท่านั้น, ลดกระหน่ำวันเลขสวย 11.11 12.12 ฯลฯ แถมวิธีนี้จะเป็นการส่งเสริมการขายที่เล่นกับความรู้สึกของผู้ซื้อได้อย่างชัดเจนเลยล่ะค่ะ

4. Smart Buyer คือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

วิธีปิดการขายในระยะเวลาอันสั้น คือทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่า “ซื้อแล้วรู้สึกคุ้มกว่าคนอื่น” ซื้อกับร้านเราคุ้มกว่าเห็น ๆ ดูเป็นคนฉลาดเลือกฉลาดซื้อขึ้นมาทันที เช่น จัดทำโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า รับส่วนลด 30% เมื่อซื้อสินค้าภายในร้าน หรือ คำโฆษณาที่สื่อ ยิ่งซื้อเยอะยิ่งลดเยอะ ก็สามารถปิดการขาย แถมยังเป็นการ Upsell อีกหนึ่งวิธีด้วยล่ะค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้เพิ่มเติม : เคล็ด (ไม่) ลับการตั้งราคาสินค้า ให้ลูกค้ารู้สึกจ่ายถูกและคุ้ม!

5. รับประกันสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจ

เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกค้ายังมีความลังเลในเรื่องซื้อของออนไลน์ ว่าสั่งมาแล้วสินค้าจะไม่ตรงปก กลัวว่าสินค้าจะไม่ได้คุณภาพ เพราะไม่ได้สัมผัสสินค้าด้วยตัวเอง  “การรับประกันสินค้า”  เป็นวิธีการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าถ้าหากไม่ดีจริงสามารถเปลี่ยนใหม่ได้ หรือ คืนเงินให้ทันทีใน 30 วัน ลูกค้าจะเห็นถึงความจริงใจของร้านค้ามากขึ้น ว่าสินค้าของเราดีจริง ตรงปกไม่จกตา แถมวิธีนี้ยังเป็นวิธีช่วย “แก้ปัญหาโดนตัดราคา” จากคู่แข่งได้อีกด้วยนะคะ เพราะคู่แข่งที่กล้าตัดราคา ส่วนใหญ่จะไม่เหลือกำไรเพียงพอที่จะมารับประกันสินค้าในส่วนนี้ค่ะ

ทั้งหมดนี้ เป็นคำแนะนำที่เราหวังว่าคุณพ่อ - ค้าแม่ค้าออนไลน์ไปปรับใช้กับร้านค้าออนไลน์ของตัวเองกันนะคะ ถ้าอ่านจนจบแล้วยังรู้สึกไม่มั่นใจ คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการใช้งาน Page365 ที่จะช่วยให้ร้านมีระบบการจัดการที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น เรารู้ว่าการจะเริ่มต้นทำอะไรบางครั้งก็เป็นเรื่องน่ากลัว แต่ขอให้คุณผู้อ่านมีความกล้าสักนิด ถ้าไม่ลองก็คงไม่มีวันได้รู้นะคะ ไม่แน่คุณอาจจะเป็นเศรษฐีร้อยล้านคนต่อไปก็ได้ค่ะ ^^

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?

บทความนี้มีประโยชน์กับคุณมากแค่ไหน?

9 อย่างที่ควรมีก่อนเริ่มขายของออนไลน์
บทความนี้ได้ 5 คะแนน จากผู้อ่าน 5336 คน